พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี UdonthaniMuseum

พิพิธภัณฑ์ อุดรธานี แหล่งเก็บประวัติเมืองอุดรธานีไว้เพื่อการศึกษาและเรียนรู้

เช่ารถสนามบิน อุดรธานี ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี

ไปเที่ยวด้วยการ ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี

เช่ารถสนามบิน อุดรธานี ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี

ทางเรารถเช่าอุดรธานี ผู้ให้บริการรถเช่าในจังหวัดอุดร ขอแนะนำทุกท่านไปชมศูนย์แห่งหนึ่ง ที่รวมรวบ ประวัติเมืองอุดรธานีจากอดีตมาให้ทุกท่านดูคร่าวๆ แต่ถ้าดุดีๆก็มีอะไรหลายอย่างให้เราได้ดู และ ได้ศึกษาแถมยังมี โลเกชั่นสวยๆให้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกด้วยครับ นั่นคือ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ว่าแล้วก็ขับรถ เช่ารถสนามบินอุดรธานี ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี กับทางเราไปได้เลย ครับ..

เช่ารถสนามบิน อุดรธานี ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี ดู รายละเอียดพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี คือ เป็นตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีเป็นอาคารแบบโคโลเนียล 2 ชั้น มีลักษณะ เป็น สถาปัตยกรรมคลาสสิกมาประยุกต์เข้ากับแบบไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา หน้าต่างโค้ง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าซุ้มประตู ถือเป็นอาคารเก่าแก่ของเมืองอุดรธานี ที่มีการปรับปรุงมาต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2557 เทศบาลนครอุดรธานี ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี เพื่อบูรณะ และพัฒนาอาคารเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ และมีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม รวมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ทั้งการเพื่อเป็นสถานที่เชิงท่องเที่ยวไปในตัว

เช่ารถสนามบิน อุดรธานี ไปพิพิธภัณฑ์ อุดรธานี ดู ประวัติแ ละความเป็นมาพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

  พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ตั้งอยู่ในอาคารหลังเก่าของ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ซึ่ง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในราชกาล 6 ได้มี พระราชดำริว่า การศึกษาเล่าเรียนที่ดีจะช่วยพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง รวมทั้งช่วยยกระดับบทบาทของสตรีในสังคมไทย
จึงได้ตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะ พระราชทานทรัพย์สร้างโรงเรียนสตรีประจำ มณฑลอุดร ขึ้นโดยมีทำเลอยู่ริมถนน โพศรี ใกล้ วัดโพธิสมภรณ์ แต่ พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อนในปี พ.ศ. 2462
  ในปี พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มเติมเพื่อ การก่อสร้างให้แล้วเสร็จ จึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2468 เป็สถาปัตยกรรมแบบ โคโลเนียล แบบ2ชั้นก่ออิฉาบปูน

การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน กรมศิลปากร

หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร นั้น จะช่วยให้สมารถคุ้มครอง ควบคุม และดูแลรักษาโบราณสถานได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดมีงบประมาณในการดูแล บำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี

พิพิธภัณฑ์ในระยะแรกเริ่ม

อาคารราชินูทิศเริ่มถูกใช้เป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2547 จากความร่วมมือของชาวอุดรธานีทุกภาคส่วน นำโดย นาย ชัยพร รัตนนาคะ อดีต ผู่ว่าราชการจังหวัดอุดรานี สมัยนั้นเพื่อให้เปิดทันวันครบรอบ 111 ปี ของจังหวัดอุดรธานี
ต่อมาจึงมอบให้ เทศบาลนครอุดรธานี เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ในวันที่ 9 มีนาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์  อุดรธานี ภายใน

สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล

อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นการก่อสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 2462 นั้นเป็นแบบ โคโลเนียล เป็นอาคาร2ชั้นก่ออิฐถือปูนตามที่ ฝรั่งเศสนำมาใช้กับอินโดจีน วึ่งเป็นการก่อสร้างที่สวยงามมาก และลงตัว สุดแล้วในยุคนั้น และที่พิเศษสุด นั่นคือ โครงสร้างที่มีการใช้อิฐไม้ เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นอาคารราชินูทิศ นี้จึงเป็นอาคารเดียวในประเทศไทย ที่ใช้ ยังไม่มีการค้นพบอีกในที่อื่นๆ ผ่านมากี่ปียังคงสภาพไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม

การจัดการแสดง ชั้นล่าง

มีทั้งหมด 11ห้อง

  1. ห้องเมืองที่มีชีวิต การสร้างบ้านแปงเมือง
  2. ห้องผืนอิสานใต้ทะเล หลักฐานทางบรรพชีวินวิทยา และ ธรณีวิทยา กว่า250ล้านปี
  3. ห้องเมื่อธรณีแปรสัณฐาน กำเนิดแผ่นดิน แอ่งสกลนคร ธรณีวิทยา วิวัฒนาการ และสิ่งมีชีวิต
  4. ห้องอาณาจักรเกลือ เกลือสินว์ แร่ธาตุ ที่ ปฏิวัติสังคมอิสานและวัฒนธรรม
  5. ห้องจากชุมชนสู่วัฒนธรรม ร่องรอยวิถีชีวิตลุ่ม น้ำโขง พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม
  6. ห้องจากวัฒนธรรมสู่อารยธรรม อารยธรรมบ้านเชียง โลหะสำริด หมาศักดิ์สิทิ์บ้านเชียง หม้อบ้านเชียง ลูกปัด วัฒนธรรมการใช้ผ้า
  7. ห้องมรดกจากบรรพบุรุษ การสำรวจโบราณคดี ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของ ศตวรรษที่ 20
  8. ห้องเมื่อพระพุทธศาสนามาถึง ร่องรอยของผี ดินแดนที่เปิดตัวสู่โลก
  9. ห้องของดีเมืองอุดร แหล่งท่องเที่ยวะรรมชาติ ธรรมะ วัฒนธรรม อาหาร
    10.ห้องอนาคตในมือคุณ ความร่วมมือของประชาชนในการพัฒนาจังหวัดในทุกๆด้าน
    11.ห้องเกีรยติประวัติ อาคารราชินูทิศ การได้รับเป็นโบราณสถาน การได้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดงชั้น2

มีทั้งหมด15ห้อง

  1. • ห้องกำเนิดหมากแข้ง จากวิกฤติสยามสู่กำเนิดใหม่เมืองใหม่ การเคลื่อนทัพครั้งใหญ่ จากมณฑลลาวพวนกลายมาเป็นอุดรธานี
  2. • ห้องมือที่สร้างเมือง การบริจาคทรัพย์ในการสร้างเมือง
  3. • ห้องกว่าจะเป็นเมืองอุดรธานี การพัฒนาเมือง การสึกษา พุทธศาสนา ส่วนราชการ
  4. • ห้องชีวิตชาวอุดร เรื่องราวการใช้ชีวิตคนอุดรธานี
  5. • ห้องเมื่อความเปลี่ยนแปลงมาเยือน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สายรถไฟมาถึง พ.ศ. 2484 การที่กลุ่มคนจีนกลุ่มแรกมาถึง
  6. • ห้องไอร้อนสงครามโลก ยุทธเวหาแรกของไทย พ.ศ.2483 ในสงครามโลกครั้งที่ 2
  7. • ห้องระอุสงครามเย็น สงครามเย็นที่เกิดขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  8. • ห้อง G.I. ทหารเกณฑ์มะกัน ทำไม จี.ไอ.ต้องมาอุดร มามากแค่ไหน ก่อเกิดงานใหม่ๆ
  9. • ห้องรอยจำในอดีต ธุรกิจสดบูมในยุค G.I.ห้องถ่ายภาพ
  10. • ห้องงานเลี้ยงย่อมมีเลิกรา หลังสงครามเวีบตนามสิ้นสุดลง และถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทย
  11. • ห้องทศวรรษที่สูญหาย ผลกระทบแบบทุกๆด้านที่ทหารสหรัฐถอนกำลังกลับ
  12. • ห้องยืนหยัดด้วยลำแข้ง การพึ่งพาตนเอง กำเนิดสามล้อเครื่องสกายแลป
  13. • ห้องพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลาปาคม
  14. • ห้องอิสานอริยสงฆ์ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หลวงตามหาบัว
  15. • ห้องศรีอุดร บุคคลที่มีส่วนสร้างชื่อเสียง สร้างคุณูปการให้เมืองอุดร จากอดีต

กลับสู่สารบัญ

พิพิธภัณฑ์  อุดรธานี  ด้านนอก

การเดินทาง

พิพิธภัณฑ์อุดรธานี ตั้งอยู่ถนนโพศรี ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอุดร สถานที่ใกล้เคียง วัดโพธิสมภรณ์, หนองประจักษ์,วิทยาลัยอาชีวะ จึงเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเดินทางไป หรือท่านอาจใช้โทรศัพท์ค้นหาโดยใช้ map google ได้ ซึ่งการเดินทางมายังสถานที่นี้ ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด

สรุป

พิพิธภัณฑ์อุดรธานี คือ สถานที่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีประวัติอันยาวนาน และเป็นที่เก็บรักษาและให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอุดรธานีเป้นอย่างดี
เป็นอย่างไรบ้างครับ ทางเราผู้ให้บริการ รถเช่าอุดรธานี ได้ แนะนำ ทุกท่านให้ได้ไปเยี่ยมชมซึ่งผู้เขียนรับรองว่า บรรยากาศ ทั้งภายใน และภายนอกเหมาะแก่การเข้าไปพักผ่อนเดินเยี่ยมชมได้อย่าง สบายใจแน่นอน ครับ

พิพิธภัณฑ์ อุดรธานี บรรยากาศเดิมเมื่อ50ปีก่อน
ฐิติพงศ์ อมรไตรลักษณ์
ฐิติพงศ์ อมรไตรลักษณ์

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *